สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาในศตวรรษที่ 21
ในอดีต เมื่อกล่าวถึงคำว่า สื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) หรือสื่อผสม จะหมายถึง การนำสื่อหลายๆ ประเภทมาใช้ร่วมกัน เช่น รูปภาพ เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส เทปบันทึกเสียง วีดีโอ ฯลฯ เพื่อให้การเสนอผลงานหรือการเรียนการสอนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่างๆ นอกจากการบรรยายเพียงอย่างเดียวโดยที่ผู้ฟังหรือผู้เรียนมิได้มีปฎิสัมพันธ์ต่อสื่อนั่นโดยตรง แต่ในปัจจุบัน สื่อมัลติมีเดีย จะหมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เห็น ได้เลือก และรับฟังข้อมูลข่าวสารผ่านจอคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลและข่าวสารต่างๆ จะรวมรูปแบบของ ตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตอบโต้และมีปฎิสัมพันธ์กับสื่อโดยตรงได้ และเมื่อนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้กับการศึกษา จึงนิยมเรียกว่าสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
ข้อได้เปรียบของสื่อมัลติมีเดีย คือ ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถประมวลข้อมูล นำเสนอข้อมูล ภาพ เสียง และข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพดังกล่าวนี้เมื่อผนวกเข้ากับการออกแบบโปรแกรมที่ดี ย่อมส่งผลดีต่อการเรียนการสอน
ข้อเสียเปรียบของสื่อมัลติมีเดีย คือ ราคาของคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นก็เป็นความซับซ้อนของระบบการทำงานซึ่งเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ นับว่าคอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีความยุ่งยากในการใช้งาน อย่างไรก็ตาม ความยุ่งยากของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ลดลงตามลำดับ บริษัทผู้พัฒนาโปรแกรมได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้การใช้คอมพิวเตอร์มีความง่ายสำหรับคนทุกคนทุกอาชีพ
สื่อมัลติมีเดีย มีบทบาทและเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้และการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพในประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้กล่าวคือ
1. เนื้อหาบทเรียนในรูปแบบสื่อมัลติมีเดียหรือสื่อประสมจะช่วยในการสื่อสารความรู้จากผู้สอนหรือจากแหล่ง ส่งไปยังผู้เรียนได้อย่างกระจ่างชัดกว่าบทเรียนจากเนื้อหาธรรมดา
2. เอื้อต่อการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้เนื่องจากผู้เรียนสามารถเลือกหรือกำหนด
3. สามารถ ใช้กับการเรียนในทุกรูปแบบและทุกสภาวการณ์ เนื่องจากการใช้สื่อประสมสามารถใช้ได้หลากหลายวิธีการเพื่อจัดการเรียนการ สอนที่ดีที่สุดแก่ผู้เรียน
4. กระตุ้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบกับบทเรียน ทำให้เป็นการเรียนรู้แบบกระฉับกระเฉง ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาข้อมูลความรู้หลากหลายรูปแบบ
5. เสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เชิงทดลอง และแบบ story line
6. สร้างการทางานในลักษณะของโครงงานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียน
7. สนับสนุนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
8. เหมาะสาหรับการเรียนรายบุคคล ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้ไม่ว่าผู้เรียนจะเรียนได้เร็วหรือช้า ไม่ต้องคอยกัน
9. เหมาะอย่างยิ่งในการสร้างเนื้อหาบทเรียนในการศึกษาทางไกล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถรับข้อมูลได้ทุกรูปแบบ
ดังนั้น สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา จำเป็นต้องคำนึงถึงทฤษฎี หลักการการเรียนรู้ เพื่อให้การพัฒนาบทเรียนเป็นไปอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่วงการการศึกษาให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้ และเมื่อมองภาพการใช้งานร่วมกับเครือข่ายด้วยแล้ว บทบาทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาจะยิ่งโดดเด่นไปอีกนานอย่างไร้ขอบเขตและรูปแบบต่าง ๆ ของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาก็ยังได้รับการพัฒนาขึ้นตามลำดับ สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษามีคุณสมบัติที่ช่วยเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอื้อต่อการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถควบคุมจังหวะการเรียนของตนเองได้โดยสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาจะคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบกับบทเรียน สนับสนุนให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นใน การค้นคว้าหาข้อมูลสารสนเทศได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งช่วยผลักดันให้ผู้เรียนมีการพัฒนาตนเอง ส่วนผู้สอนสามารถป้อนความรู้ให้แก่นักเรียน เป็นผู้ทำหน้าที่ช่วยชี้แนะ ซึ่งทำให้เกิดการสอนที่หลากหลายรูปแบบขึ้นได้ และนำประโยชน์ของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน อาจกล่าวได้ว่ามัลติมีเดียจะกลายมาเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการเรียนการสอนในอนาคตต่อไป