วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560

สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาในศตวรรษที่ 21

สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาในศตวรรษที่ 21


                 
               ในอดีต เมื่อกล่าวถึงคำว่า สื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) หรือสื่อผสม จะหมายถึง การนำสื่อหลายๆ ประเภทมาใช้ร่วมกัน เช่น รูปภาพ เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส เทปบันทึกเสียง วีดีโอ ฯลฯ เพื่อให้การเสนอผลงานหรือการเรียนการสอนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่างๆ นอกจากการบรรยายเพียงอย่างเดียวโดยที่ผู้ฟังหรือผู้เรียนมิได้มีปฎิสัมพันธ์ต่อสื่อนั่นโดยตรง แต่ในปัจจุบัน สื่อมัลติมีเดีย จะหมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เห็น ได้เลือก และรับฟังข้อมูลข่าวสารผ่านจอคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลและข่าวสารต่างๆ จะรวมรูปแบบของ ตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตอบโต้และมีปฎิสัมพันธ์กับสื่อโดยตรงได้ และเมื่อนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้กับการศึกษา จึงนิยมเรียกว่าสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา


ข้อได้เปรียบของสื่อมัลติมีเดีย คือ ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถประมวลข้อมูล นำเสนอข้อมูล ภาพ เสียง และข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพดังกล่าวนี้เมื่อผนวกเข้ากับการออกแบบโปรแกรมที่ดี ย่อมส่งผลดีต่อการเรียนการสอน 

ข้อเสียเปรียบของสื่อมัลติมีเดีย คือ ราคาของคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นก็เป็นความซับซ้อนของระบบการทำงานซึ่งเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ นับว่าคอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีความยุ่งยากในการใช้งาน อย่างไรก็ตาม ความยุ่งยากของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ลดลงตามลำดับ บริษัทผู้พัฒนาโปรแกรมได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้การใช้คอมพิวเตอร์มีความง่ายสำหรับคนทุกคนทุกอาชีพ



  
            สื่อมัลติมีเดีย มีบทบาทและเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้และการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพในประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้กล่าวคือ

1. เนื้อหาบทเรียนในรูปแบบสื่อมัลติมีเดียหรือสื่อประสมจะช่วยในการสื่อสารความรู้จากผู้สอนหรือจากแหล่ง ส่งไปยังผู้เรียนได้อย่างกระจ่างชัดกว่าบทเรียนจากเนื้อหาธรรมดา 

2. เอื้อต่อการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้เนื่องจากผู้เรียนสามารถเลือกหรือกำหนด

3. สามารถ ใช้กับการเรียนในทุกรูปแบบและทุกสภาวการณ์ เนื่องจากการใช้สื่อประสมสามารถใช้ได้หลากหลายวิธีการเพื่อจัดการเรียนการ สอนที่ดีที่สุดแก่ผู้เรียน

4. กระตุ้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบกับบทเรียน ทำให้เป็นการเรียนรู้แบบกระฉับกระเฉง ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาข้อมูลความรู้หลากหลายรูปแบบ

5. เสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เชิงทดลอง และแบบ story line

6. สร้างการทางานในลักษณะของโครงงานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียน

7. สนับสนุนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง

8. เหมาะสาหรับการเรียนรายบุคคล ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้ไม่ว่าผู้เรียนจะเรียนได้เร็วหรือช้า ไม่ต้องคอยกัน

9. เหมาะอย่างยิ่งในการสร้างเนื้อหาบทเรียนในการศึกษาทางไกล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถรับข้อมูลได้ทุกรูปแบบ


              ดังนั้น สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา จำเป็นต้องคำนึงถึงทฤษฎี หลักการการเรียนรู้ เพื่อให้การพัฒนาบทเรียนเป็นไปอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่วงการการศึกษาให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้ และเมื่อมองภาพการใช้งานร่วมกับเครือข่ายด้วยแล้ว บทบาทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาจะยิ่งโดดเด่นไปอีกนานอย่างไร้ขอบเขตและรูปแบบต่าง ๆ ของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาก็ยังได้รับการพัฒนาขึ้นตามลำดับ สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษามีคุณสมบัติที่ช่วยเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอื้อต่อการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถควบคุมจังหวะการเรียนของตนเองได้โดยสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาจะคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบกับบทเรียน สนับสนุนให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นใน การค้นคว้าหาข้อมูลสารสนเทศได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งช่วยผลักดันให้ผู้เรียนมีการพัฒนาตนเอง ส่วนผู้สอนสามารถป้อนความรู้ให้แก่นักเรียน เป็นผู้ทำหน้าที่ช่วยชี้แนะ ซึ่งทำให้เกิดการสอนที่หลากหลายรูปแบบขึ้นได้ และนำประโยชน์ของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน อาจกล่าวได้ว่ามัลติมีเดียจะกลายมาเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการเรียนการสอนในอนาคตต่อไป
















วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

สื่อการสอนแบบสไลด์เรื่องมตราตัวสะกดไทย

สื่อการสอนแบบสไลด์







วัตถุประสงค์ของการใช้นวัตกรรม

    1.  เพื่อใช้สื่อการเรียนการสอน เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการเรียนรู้  สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับผู้เรียน
      2.    เพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ และมีความสนใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น
      3.    เพื่อให้นักเรียนแยกคำได้ว่าอยู่ในมาตราตัวสะกดใด
    

ทฤษฎีหลักการที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรม

คาร์เพนเตอร์ และเดล(C.R. Carpenter and Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ
.....1.หลักการจูงใจ  สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดันจูงใจ มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ ความต้องการ ของผู้เรียน
.....2.การพัฒนามโนทัศน์ (Concept)  ส่วนบุคคล  ช่วยส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน  การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน  ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียน
.....3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี   ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน
.....4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา  ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ และมีความหมายตามความสามารถของเขา
.....5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ  ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่ สุด 
.....6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ  สื่อที่สามารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการ เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอ  จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ เพิ่มความคงทนในการจำ
.....7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน  อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้ต่างๆ จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ  ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
.....8.ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล สื่อที่มีลักษณะชัดเจน  สอดคล้องกับ ความต้องการ  ที่สัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
.....9.การถ่ายโยงที่ดี  โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง อัตโนมัติ  จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการปฏิบัติ  เพื่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน 
.....10.การให้รู้ผลการเรียนรู้จะดีขึ้น  ถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที  หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว
แนวคิดของบูเกสสกี (Bugelski)  ได้ สนับสนุนว่า การเรียนรู้จะเป็นผลจากการกระทำของผู้เรียน ไม่ใช้กระบวนการถ่ายทอดของผู้สอน หากแต่ผู้สอนเป็นเพียงผู้เตรียมสถานการณ์และจัดระเบียบประสบการณ์ที่ทันสมัย ไว้ให้  เพื่อผู้เรียนจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่ได้สะดวก ซึ่งหมายถึงว่า  เทคโนโลยีทางการศึกษาจะเป็นตัวการประสานความรู้โดยตรงแก่ผู้เรียน




การนำนวัตกรรมไปใช้
1.เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน 
ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ผู้สอนส่วนใหญ่ยังคงยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย พราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้นความคิดและสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย

2. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาโดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆ ในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู  อาจารย์ท่านอื่นๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครู  อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกันได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป 

3. การนำนวัตกรรมไปใช้เป็นผลงานทางวิชาการ
นวัตกรรมการเรียนรู้นอกจากจะเป็นประโยชน์ในด้านการปรับปรุงและพัฒนางานหรือการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาวิชาชีพอีกด้วย โดยผู้สร้างนวัตกรรมสามารถนำผลจากการนำนวัตกรรมไปใช้เป็นผลงานวิชาการเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะ หรือปรับตำแหน่งให้สูงขึ้นได้

 ตัวอย่างนวัตกรรมการเรียนรู้ที่นำไปใช้ในการพัฒนาเรียนการสอน

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI ) 

   ที่มีประสิทธิภาพที่สามารถทำให้ผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนนี้เกิดการเรียนรู้ตรงตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร


อินเทอร์เน็ต     (Internet)  อินเทอร์เน็ต   คือ     ระบบของการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากครอบคลุมไปทั่วโลก เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการสื่อสารข้อมูล เช่นการบันทึกเข้าระยะไกล ฯลฯ..... อ่านต่อได้ที่: 



วิธีการประเมิน
1. ให้นักเรียนอ่านมาตราตัวสะกด 8 มาตรา และสามารถบอกได้ว่าคำไหนอยู่ในมาตราตัวสะกดใด
2. ให้นักเรียนเขียนตามคำบอก ซึ่งครูจะเป็นคนบอกให้เขียนว่าคำนี้อยู่ในมาตราตัวสะกดใด ตอบได้ 7 คะแนนขึ้นไป ถือว่าผ่าน ถ้าไม่ถึง 7 คะแนน ก็ตก เพื่อให้รู้ว่านักเรียนเข้าใจมากน้อยแค่ไหน

















สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาในศตวรรษที่ 21

สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาในศตวรรษที่ 21                                    ในอดีต เมื่อกล่าวถึงคำว่า  สื่อมัลติมีเดีย  (Multime...